เผย 3 ปัจจัยเสี่ยง แผ่นดินไหวกระทบกรุงเทพ
สมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย จัดเสวนาเรื่อง แผ่นดินไหวในประเทศไทย โดย รศ.อมร พิมานมาศ ประธานคณะอนุกรรมการสาขาวิศวกรรมโครงสร้างและสะพาน เปิดเผยว่า กทม.มีความเสี่ยงที่จะได้รับผลกระทบจากเหตุแผ่นดินไหว หากมีขนาด 8 ริกเตอร์ขึ้นไป เพราะมี 3 ปัจจัยเสี่ยง ได้แก่
1.การอยู่ใกล้รอยเลื่อนที่ยังคงมีพลัง คือ รอยเลื่อนศรีสวัสดิ์ รอยเลื่อนด่านเจดีย์สามองค์ และรอยเลื่อนสะแกง ในประเทศพม่า ซึ่งอยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครไม่เกิน 300 ก.ม.
2. กทม.ตั้งอยู่บนชั้นดินที่อ่อน และ
3.โครงสร้างอาคารยังไม่สามารถรองรับแผ่นดินไหว
2. กทม.ตั้งอยู่บนชั้นดินที่อ่อน และ
3.โครงสร้างอาคารยังไม่สามารถรองรับแผ่นดินไหว
โดยจุดเสี่ยงจะเกิดขึ้นกับตึกแถวสูง 4-5 ชั้น, อาคารที่ชั้นล่างเปิดโล่ง, อาคารที่ไร้คาน เช่น อาคารจอดรถ อาคารสำนักงาน รวมถึงบ้านจัดสรรที่มีโครงสร้างสำเร็จรูป
ด้าน รศ.เป็นหนึ่ง วานิชชัย อาจารย์สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย กล่าวว่า จากประวัติศาสตร์หลักฐานทางธรณี วิทยา พบว่า การเกิดแผ่นดินไหวทั้งในประเทศไทยและทั่วโลก ไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยกว่าในอดีต แต่เป็นเพราะชุมชนขยายตัวมากขึ้น ทำให้เมื่อเกิดเหตุจึงมีคนบาดเจ็บและเสียชีวิตมากขึ้น
ทั้งนี้โอกาสเกิดแผ่นดินไหวที่มีศูนย์กลางที่หมู่เกาะสุมาตราจะยังคงมีอยู่ เพราะอยู่ในแนวมุดตัวของเปลือกโลก ซึ่งมีการไหวครั้งใหญ่หลายครั้งในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา จึงอาจใช้เวลาอีกนานในการสะสมพลังงาน ก่อนจะเกิดการขยับตัวอีกครั้ง ที่น่าเป็นห่วงมากกว่าคือ รอยต่อของแผ่นเปลือกโลกบริเวณหมู่เกาะนิโคบาร์ เพราะไม่ได้ขยับตัวครั้งใหญ่มานาน เป็นไปได้ที่จะเกิดแผ่นดินไหวรุนแรงและทำให้เกิดสึนามิได้ ทำให้ 6 จังหวัดอันดามันของไทยได้รับผลกระทบโดยตรงภายใน 2 ช.ม.
พร้อมกันนี้ ยังต้องเฝ้าระวังรอยเลื่อนในภาคเหนือและภาคตะวันตก เนื่องจากเสี่ยงต่อการเกิดแผ่นดินไหวขนาด 6 ริกเตอร์ขึ้นไปได้
0 comments:
Post a Comment